รูปแบบและประสิทธิผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในห้องเรียนด้วย Active Classrooms

“Active Classrooms” จัดเป็น 1 ใน 6 Domains ในการสนับสนุนกิจกรรมทางกายในเยาวชน โดยการสอดแทรกโปรแกรมการมีกิจกรรมทางกาย เข้ากับการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ จะเป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนจดจำเนื้อหาการเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยส่งผลเชิงบวกต่อการเพิ่มระดับกิจกรรมทางกาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Global Action Plan on Physical Activity (GAPPA) 2018–2030 โดยเน้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เนื่องจากโรงเรียนจัดเป็นสถานที่ที่เด็กและเยาวชนใช้เวลาประมาณ 1 ใน 3 ของวัน และเวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการนั่งเรียนเป็นเวลานานตลอดทั้งวันทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย ขณะที่การศึกษาวิจัยการส่งเสริม Active School ในประเทศไทย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมกิจกรรม Active Classrooms จะมีสมาธิและความเข้าใจในการเรียนดีกว่านักเรียนทั่วไป และมีความรู้สึกว่าห้องเรียนเป็นสถานที่ที่มีความสุขสนุกสนานมากกว่า ด้วยการออกแบบการเรียนการสอนตามหลัก Active Classrooms จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเยาวชนไปพร้อม ๆ กัน


“เล่น เรียน รู้”

ตัวอย่างการบริหารจัดการ Active Classrooms แบบฉบับโรงเรียนไทย ?

ศูนย์ทีแพคได้นำ Active Classrooms มาใช้เป็น 1 ในองค์ประกอบของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบแบบ 4PC ภายใต้โครงการวิจัยโรงเรียนฉลาดเล่น: Active School เมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบ Cohort Study ที่ติดตามผลการวิจัยกับนักเรียนกลุ่มเดิมต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี เพื่อติดตามผลการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนทดลองและควบคุม โดย Active Classrooms ถูกเรียกเป็นภาษาไทยและใช้สื่อสารในกลุ่มครูแกนนำที่เข้าร่วมการวิจัยว่า “ห้องเรียนฉลาดรู้” เพื่อเป็นการเสริมแรงและเสริมความมั่นใจให้กับครูผู้นำแนวคิดไปใช้ว่าการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดการแบ่งชั่วโมงการเรียนเป็น 3 ช่วงเรียกว่า “เล่น เรียน รู้” เพื่อให้ครูผู้ปฏิบัติเข้าใจในหลักการและวิธีการนำแนวคิดไปปรับประยุกต์ใช้ได้ง่ายที่สุด

ในช่วงแรก “เล่น” เปรียบเสมือน “การนำเข้าสู่บทเรียน” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนใช้เป็นกิจกรรมเริ่มต้นในการสอนปกติอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายเข้าไปอยู่ในเนื้อหาการเรียนการสอนโดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยแบ่งระดับความเข้มข้นของกิจกรรมเป็น 3 ระดับ คือ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายหรือส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายเพียงอย่างเดียว เช่น กิจกรรมกายบริหาร ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น ถัดมาคือการนำกิจกรรมทางกายเข้ามาผสมเข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้ เช่น แบ่งกลุ่มวิ่งเปี้ยวแข่งเขียนคำศัพท์ คำเป็นคำตาย คิดเลขเร็ว เป็นต้น และสุดท้ายคือการเพิ่มระดับความยาก-ง่ายของการเคลื่อนไหวร่างกายเข้าไปในกิจกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน เช่น เดิน วิ่ง กระโดด ซิกแซ็ก เขย่ง ถอยหลัง เป็นต้น สำหรับช่วง “เรียน” คือช่วงเวลาตรงกลางที่จะมีเวลาประมาณ 30 นาที ให้ครูผู้สอนได้สอนเนื้อหาวิชาหลักให้กับนักเรียน โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบใดก็ได้ที่เชื่อมั่นว่าจะดีที่สุดสำหรับนักเรียน และช่วงสุดท้ายคือช่วง “รู้” เป็นช่วงเวลา 10 – 20 นาทีสุดท้ายที่ครูจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สะท้อนความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนออกมาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำกิจกรรมเหมือนช่วงเล่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อดูว่านักเรียนทำได้ดีขึ้นหรือไม่ (กิจกรรมก่อน-หลัง) หรือจะให้นักเรียนนำเสนอความรู้ ทำใบงาน หรือเปิดอภิปรายในห้องเรียนก็ได้ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563)

ภาพตัวอย่างการจัดสรรเวลาห้องเรียนฉลาดรู้ Active Classroom
(ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563)

นอกจากการแบ่งเวลาชั่วโมงการเรียนการสอนเป็น 3 ช่วงแบบ “เล่น เรียน รู้” แล้ว ยังสามารถสอดแทรกกิจกรรมทางกายเข้าไปอยู่ตลอดช่วงเวลาเรียนได้เช่นเดียวกันกับวิชาพลศึกษา หรือลูกเสือ-เนตรนารี หากแต่ครูผู้สอนจะต้องดูความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะต้องการถ่ายทอดให้กับนักเรียน และกิจกรรมทางกายที่จะนำไปใช้ว่าเหมาะสมกันหรือไม่ เช่น บางเนื้อหานักเรียนอาจจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับดินชนิดต่าง ๆ หรือต้นไม้ที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งครูผู้สอนสามารถพานักเรียนออกไปเดินสำรวจและจดบันทึกการเรียนนอกห้องเรียนได้ หรือให้โจทย์กับนักเรียนแล้วแบ่งกลุ่มกันออกไปสำรวจหรือทำกิจกรรมนอกห้องเรียนตามโจทย์ที่กำหนดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน และหากจัดกิจกรรมในห้องเรียนอาจจะต้องพิจารณาระดับความหนักเบาของกิจกรรมทางกายที่จะให้นักเรียนได้ทำ เพื่อให้มีช่วงพักสำหรับการคิดวิเคราะห์หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน แล้วให้นักเรียนกลับมาทำกิจกรรมทางกายอีกครั้งก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่เหมาะสมอาจจะเป็นรูปแบบการแข่งขันระหว่างกลุ่ม หรือการทำกิจกรรมร่วมกันโดยมีครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดกติกาและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดแทรกเนื้อหาการเรียนรู้ไปตลอดทั้งคาบเรียน ครูผู้สอนจะต้องมีการเตรียมพร้อมและใช้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการและควบคุมเวลาให้เป็นไปอย่างเหมาะสม


อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่:

https://tpak.or.th/th/article/764?fbclid=IwAR216uoXkNE5X9_J5uC1vb7JfHBMqbPdoo5qsvhinc7dO9hG8Hk8ypBkgr4

ทีแพคชวนร่วมกิจกรรมตอบคำถาม “คุณรู้จัก WalkShop หรือไม่? คืออะไร? และมีประโยชน์อย่างไร?”

ทีแพคชวนร่วมกิจกรรมตอบคำถาม “คุณรู้จัก #WalkShop หรือไม่? คืออะไร? และมีประโยชน์อย่างไร?”

.

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทางศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) ได้ทำการเปิดตัวคู่มือการจัดกิจกรรม #WalkShop เครื่องมือส่งเสริมการจัด Healthy Active Meeting

ทางศูนย์ทีแพค จึงมีกิจกรรมดี ๆ ให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกกัน

.

📌กติกา

1. เพียงคอมเมนต์คำตอบของท่านว่า #WalkShop มีประโยชน์อย่างไร?

สามารถหาคำตอบได้ในคู่มือ WalkShop https://shorturl.asia/2zBOY

2. กดไลก์ และกดติดตามเพจ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย – TPAK

3. กดไลก์ และแชร์โพสต์นี้ (ตั้งเป็นสาธารณะ)

.

✅ คำตอบไหนโดนใจ ลุ้นรับ… หูฟังออกกำลังกาย AUKEY จำนวน 1 รางวัล

และรางวัลพิเศษ อีก 3 รางวัล

ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566

ประกาศรายชื่อผู้โชคดีวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

.

อ่านเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo?fbid=730261559129142&set=a.635094991979133

Childimpact ร่วมกับ TPAK และ สสส. ขอเชิญชวนคุณครู และผู้สนใจมาร่วมกันนำ “กิจกรรมทางกาย” มาออกแบบให้เข้ากับการเรียน การสอน เพื่อลดความเนือยนิ่ง ติดจอ และกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

ในเวที Health Talk ครั้งที่ 9 “โรงเรียนฉลาดเล่น ห้องเรียนฉลาดรู้”

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อบรมฟรี! มีใบประกาศนียบัตร

สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ภายในวันที่ 28 กันยายน 2566

อ่านเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/messages/t/101504018191936/

คู่มือการจัดกิจกรรมทางกายและการเรียนรู้ด้วยตาราง 9 ช่อง

สสส. ชวนคนไทยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และบุคคลทุกเพศทุกวัยที่รักสุขภาพ และสนใจเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างถูกต้องกับคู่มือ “#การจัดกิจกรรมทางกายและการเรียนรู้ด้วยตาราง 9 ช่อง” โดย ศ.เจริญ กระบวนรัตน์ และคณะ ที่ได้ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ในการนำไปปรับใช้หรือเป็นแนวทางการพัฒนาเสริมสุขภาพและพัฒนาสมองด้วยการเคลื่อนไหวให้กับเด็กและบุคคลทุกเพศทุกวัย อ่านได้ที่.. https://online.anyflip.com/yaana/kyzq/mobile/index.html (Ebook)


ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=703409418481023&set=a.635094988645800

“เด็ก ๆ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ แต่การมีชั่วโมงนอนที่เพียงพอนั้น ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ”

“Child can be active which is good for their healthy weight but this can undo the benefits if they don’t get enough sleep due to staying to using electronic media for entertainment”

“เด็ก ๆ ควรมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ แต่ถึงแม้ว่าจะมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การมีชั่วโมงนอนที่เพียงพอนั้น ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดีของเด็ก”

Prof. Tony Okely
(University of Wollongong, Australia)

ข้อความส่วนหนึ่งในหัวข้อ “Understanding and Promoting Physical Activity in Early Childhood” ActivePeople (English session) จากงานประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565 “The 1st Thailand Physical Activity Conference 2022 (TPAC2022)” เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สานต่อคำปฏิญญา มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนต่อไป งานประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย ครั้งที่ 1 (TPAC 2022) จะเป็นจุดคานงัดในการดำเนินงาน 2023 ของ สสส. ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคน จะขยับเขยื้อนตัวอีกครั้ง เพื่อสุขภาพของเรา

อ่านเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/photo?fbid=695103635978268&set=a.635094991979133

“เล่น กิน นอน” 3 วิถีพื้นฐานที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กไทย

พัฒนาการในวัยเด็กนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็ก เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ เติบโต และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน

จากแวดล้อมรอบข้าง[i] การเจริญเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดีของเด็ก จำเป็นต้องได้รับการ เล่น กิน นอน ที่เพียงพอและเหมาะสม

เพราะการได้เล่นอย่างสมวัย กินอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ และได้นอนอย่างเพียงพอ

เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เด็กควรได้รับอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง


“เล่น กิน นอน” ทำไม อย่างไร?

ข้อมูลของกรมอนามัยที่เปิดเผยผลการสำรวจพัฒนาการเด็ก ประจำปี 2563 พบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา พัฒนาของเด็กมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดือนตุลาคม ปี 2562 เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 91.7 ลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 88.3 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2563[ii] นอกจากนั้น จากผลการประเมินพัฒนาการของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561 ระดับประเทศ[iii] พบว่า พัฒนาการในภาพรวมทุกด้านของนักเรียน ยังมีสัดส่วนของนักเรียนกว่าร้อยละ 13 ที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับพอใช้เท่านั้น และเมื่อพิจารณารายด้าน ยังพบว่า พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ยังน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ กล่าวคือ เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายดีอยู่เพียงร้อยละ 75 ซึ่งอีกกว่าร้อยละ 30 คือสัดส่วนที่น่าเป็นห่วง เพราะเด็กควรมีพัฒนาการอย่างสมวัย ในทุก ๆ ด้าน

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนทั้งตอนอยู่บ้าน และตอนไปโรงเรียน ซึ่งการเล่น กิน นอน ที่เป็นปกติในแต่ละวันนั้น เป็นสิ่งที่ถูกละเลยถึงความสำคัญของประโยชน์และโทษไป ทั้งจากผู้ปกครอง ครูในโรงเรียน และตัวนักเรียนเองด้วย ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการ เล่น กิน นอน ของเด็ก ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และง่ายที่สุด ที่ผู้ปกครองและครู ควรให้ความตระหนักและใส่ใจมากยิ่งขึ้น


เรื่องเล่น : เรื่องสนุก ๆ ที่เด็กทุกคนชอบทำ

การเล่นกับเด็ก ๆ เป็นสิ่งที่คู่กันตามธรรมชาติ ที่สำคัญคือ การเล่นจะส่งเสริมให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดีและสมวัยได้ เนื่องจาก การเล่นถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางกายไม่ว่าจะเป็นระดับเบา ระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับหนัก ล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย ทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง แล้วยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายอย่างสอดคล้องประสานกันด้วย มีงานวิจัยของประเทศอเมริกา ที่ได้รับการรับรองโดย National Association of Sport and Physical Education (NASPE) และ American Heart Association รายงานว่า เด็กนักเรียนที่ได้มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อสมาธิ ความจำ และพฤติกรรมในห้องเรียน โดยแสดงผลอย่างชัดเจนตด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[iv] เพราะช่วงเวลาที่เด็กได้เล่นและเคลื่อนไหวออกแรงนั้น สมองจะหลั่งสารสื่อประสาทที่เรียกว่า สาร Endorphins ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล และมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น นอกจากนั้น การมีกิจกรรมทางกาย ยังเป็นการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย สามารถลดภาวะน้ำหนักตัวเกินในเด็กได้อีกด้วย ซึ่งการเล่นในเด็กนั้น จะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือต้องเป็นการเล่นที่มีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาที/วัน จึงจะพียงพอและเหมาะสม[v]

การกิน: กินอย่างไรให้เหมาะสม

ตามปกติ การใช้ชีวิตของเด็ก ๆ ในแต่ละวัน มากกว่า 6 ชั่วโมง ใช้อยู่ที่โรงเรียนและอาหารที่เด็กได้กินในโรงเรียน ส่วนใหญ่แล้วเด็กไม่สามารถเลือกเมนูเองได้ เพราะทางโรงเรียนเป็นผู้จัดเตรียมไว้ให้ แม้จะมีคู่มือการจัดอาหารกลางวันของนักเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา[vi] ออกมาเป็นคู่มือและแจกแจงรายละเอียดชัดเจน ว่ามีแนวทางในการจัดอาหารอย่างไรถึงจะถูกหลักโภชนาการ ด้วยเหตุนี้ หากคุณครูในโรงเรียน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดเตรียมอาหารให้กับเด็ก มีการวางแผน และจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม มีการแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ชัดเจน ใส่ใจในการเลือกทำเมนูอาหารที่เด็กจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ในขณะที่ผู้ปกครองที่อยู่ทางบ้านก็ต้องช่วยกันใส่ใจในประเภทอาหารการกินของลูกหลานให้มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

การนอน : เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

ช่วงเวลาในการนอนของเด็ก สมองจะหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซึ่งจะหลั่งมากหลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง อีกทั้งการนอนหลับยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย หากเด็กนอนไม่เพียงพอ สมองก็จะหลั่งฮอร์โมนได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้พัฒนาการในเด็กล่าช้าตามไปด้วย[vii] จากข้อมูลการสำรวจของโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยปี 2562[viii] พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการนอนของเด็กและเยาวชนอายุ 5-17 ปี เท่ากับ 8.30 ชั่วโมง/วัน โดยมีพฤติกรรมการนอนหลับน้อยที่สุดเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ส่วนพฤติกรรมการนอนหลับมากที่สุดอยู่ที่ 14 ชั่วโมง/วัน ซึ่งตามปกติแล้วนั้น ช่วงเวลาการนอนที่เพียงพอต่อวันของเด็กวัยเรียน คือ 9-12 ชั่วโมง/วัน[ix] ข้อมูลในส่วนนี้บ่งชี้ถึงความไม่เพียงพอของการนอนในเด็กที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเอาใจใส่ในระยะเวลาการนอนของลูก และควรส่งเสริมให้เด็กได้รับการนอนที่เพียงพอ


“โรงเรียนตระหนักรู้ ครูและผู้ปกครองเอาใจใส่
เด็กไทยต้องได้เล่น กิน นอน”

อ่านเพิ่มเติม: TPAK – ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย



อ้างอิงจาก

[i] รัมภา โสดจำปา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมมารดาในการกระตุ้นพัฒนาการทารก แรกเกิด-2 เดือน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล 2552. หน้า 10-12.

[ii] สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. (2563). ประชุมสรุปผลการรณรงค์คัดกรองพัฒนาการประจำปี พ.ศ. 2563. เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563 จาก http://nich.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=819

[iii] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

[iv] Slater, S. J., Nicholson, L., Chriqui, J., Turner, L., & Chaloupka, F. (2012). The impact of state laws and district policies on physical education and recess practices in a nationally representative sample of US public elementary schools. Archives of pediatrics & adolescent medicine, 166(4), 311-316.
[v] ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, กรกนก พงษ์ประดิษฐ์. (2563). ฟื้นกิจกรรมทางกายในประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19: Regenerating physical activity in Thailand after COVID-19 pandemic. นครปฐม: ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

[vi] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการจัดอาหารหารกลางวันของนักเรียนตามมาตรฐานโภชณาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.

[vii] ลัลลิยา ธรรมประทานกุล. (2557). การนอนในเด็กสำคัญอย่างไร. เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563 จาก https://th.rajanukul.go.th/preview-3501.html

[viii] โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยปี 2562 ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

[ix] Tulya. (2563). การนอนของเด็กแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ทารกจนวัยเรียน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ ห้ามทำกับลูก. เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563 จาก https://th.theasianparent.com

การหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 อาจารย์และนักศึกษาจาก The University of Hong Kong ได้มาร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย นำโดย Prof. Cindy Hui-ping SIT (Chairperson and Professor, Department of Sports Science and Physical Education) MS Chang LIU และ Mr Jia-hao SHEN (PhD Students, Department of Sports Science and Physical Education) กับคณะอาจารย์และนักวิจัยของศูนย์ทีแพค นำโดย อาจารย์ ดร. ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ – อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.ปิยกฤตา แก้วพิกุล, นางสาวณัฐพร นิลวัตถา, นายณรากร วงษ์สิงห์, นายสุรศักดิ์ เพ็ญใหม่, นางสาวณัฐนรี ชูนาค -นักวิจัย ได้เข้าร่วมหารือในครั้งนี้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0kRgux1DtW7vNbuWgfpvFTjpAqSSEaU9PdEsobmEwo59T61WxLAeU54RUEnTLjTLFl&id=100057422561546&mibextid=qC1gEa

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียน

การขาดกิจกรรมทางกายเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของคนทั่วโลก รวมถึงมีส่วนทำให้เกิดภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น (Willumsen & Bull, 2020) โดยปัจจุบันมีประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่าร้อยละ 28 (Guthold et al., 2018) วัยรุ่นร้อยละ 80 ขาดกิจกรรมทางกาย (Organization, 2014) แต่ยังไม่มีข้อมูลจากทั่วโลกที่แสดงถึงข้อมูลกิจกรรมทางกายในกลุ่มเด็กเล็กที่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้เลย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันหลายประเทศกำลังพัฒนาเครื่องมือและสำรวจข้อมูลกิจกรรมทางกายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีอยู่ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ร่วมดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายและการนอนหลับตลอด 24 ชั่วโมงร่วมกับประเทศสมาชิกอีกมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก (Okely et al., 2021) และก่อนที่จะมีการนำข้อมูลการสำรวจมาเผยแพร่อย่างเป็นทางการ เราอยากจะนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กกลุ่มนี้ก่อน เพื่อเป็นการขั้นเวลาการรอข้อมูลสำคัญที่จะเปิดเผยในอีกไม่นานนี้

ประโยชน์ของกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจะมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว และจะเป็นช่วงที่นิสัยของเด็กนั้นก่อตัวขึ้น รวมถึงวิถีชีวิตประจำวันของครอบครัวจะช่วยทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง (Organization, 2019) ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่พัฒนาขึ้นในวัยเด็กสามารถมีอิทธิพลต่อระดับและรูปแบบกิจกรรมทางกายตลอดช่วงชีวิต (Malina, 1996; Telama et al., 2005) โดยการเล่นของเด็กแบบ Active play และโอกาสในการเล่นแบบมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้างสามารถช่วยเสริมทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ (Motor skills) และการสำรวจสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก นอกจากนี้ กิจกรรมทางกายยังช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเชิงบวกและการพัฒนาทางสังคม (Burdette & Whitaker, 2005) พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย รวมถึงสุขภาพกระดูกและโครงร่าง (Janz et al., 2010; Moore et al., 2003; Organization, 2019) ที่สำคัญกิจกรรมทางกายยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก (Jiménez-Pavón et al.; Moore et al., 2003) และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Bürgi et al., 2011; Sääkslahti et al., 2004)  

ข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียน

WHO ให้ข้อแนะนำว่าเด็กก่อนวัยเรียน “ควรมีกิจกรรมทางกายในระดับความหนักใดก็ได้อย่างน้อย 180 นาที โดยอย่างน้อย 60 นาทีเป็นกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงระดับหนัก และขอให้ทำกิจกรรมทางกายกระจายไปตลอดทั้งวัน ยิ่งมากยิ่งดี” โดยกิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ใช้พลังงานมากกว่าขณะพัก ซึ่งในเด็กเล็กอาจรวมถึง การเดิน การคลาน การวิ่ง การกระโดด การทรงตัว การปีนผ่านสิ่งของต่าง ๆ การเต้นรำ การขี่ของเล่นที่มีล้อ การขี่จักรยาน การกระโดดเชือก เป็นต้น สำหรับข้อแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมเนือยนิ่งนั้น เด็กก่อนวัยเรียนไม่ควรนั่งนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง และไม่ควรใช้หน้าจอนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเด็กมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมในการเล่านิทานหรืออ่านหนังสือร่วมกันกับเด็ก และเด็กก่อนวัยเรียนควรนอนอย่างมีคุณภาพ 10 – 13 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งรวมเวลาการนอนหลับระหว่างวัน และควรมีเวลาการเข้านอนและตื่นนอนที่สม่ำเสมอ (Organization, 2019)

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียน

ข้อมูลสถิติประชากรจากทะเบียนราษฎรของกรมการปกครองที่รายงานจำนวนเด็กอายุ 3 – 4 ปี (เฉพาะผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและมีสัญชาติไทย) ล่าสุดเดือนพฤษภาคม ปี 2566 รายงานว่าปัจจุบันมีเด็กก่อนวัยเรียนจำนวน 1,246,759 คน แบ่งเป็นเพศชายจำนวน 640,750 คน และเพศหญิงจำนวน 606,009 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2566) ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 (ราชกิจจานุเบกษา, 2562) ระบุว่า “ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย” หมายถึง พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งหากจะพิจารณาตามความหมายข้างต้นน่าจะหมายรวมถึงครูและบุคลากรของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานดำเนินการอยู่ อาทิ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์ โรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐหรือเอกชน และสถาบันศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย

ทั้งนี้ หากจะส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียนให้สอดคล้องกับบริบทและพื้นที่อยู่อาศัยของเด็ก หรือ Setting เพื่อกำหนดพื้นที่ ผู้ดูแล และวิธีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้อย่างตรงจุด สามารถแบ่งพื้นที่การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กก่อนวัยเรียนแบบง่ายออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ “บ้าน” ซึ่งจะมี พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก และพื้นที่ที่เป็น “สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย” ซึ่งจะมีครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแลเด็ก จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบข้อมูลที่น่าสนใจและนำมาปรับประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศไทย ซึ่งสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ตามลิงค์ด้านล่าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://tpak.or.th/th/article/683

การนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ SUNRISE-THAILAND

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 อาจารย์ ดร. ดิยาฮ์ อนันตาเลีย วิดยาสตาริ – อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอประสบการณ์และผลการดำเนินการเก็บข้อมูล และการปฏิบัติภาคสนามโครงการ SUNRISE-THAILAND ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัย Wollongong ประเทศออสเตรเลีย ร่วมกับประเทศเครือข่าย 14 ประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก Prof. Anthony Okely (Director of research) เป็นวิทยากรในการประชุม ISBNPA CONFERENCE ณ UPPSALA UNIVERSITY BIOMEDICAL CENTRE พร้อมกับคณะนักวิจัยจากศูนย์พัฒนาความรู้กิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, คุณปัญญา ชูเลิศ, คุณณรากร วงษ์สิงห์, คุณชุติมา อยู่สมบูรณ์, คุณดนุสรณ์ โพธารินทร์, คุณสุรศักดิ์ เพ็ญใหม่ และคุณณัฐพร นิลวัตถา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการดำเนินงานในครั้งนี้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02fWJSKvVnwimK65pYYZy5WJL3QZAA4gegKRtnAZsgpi3QC4ZG88xVkUyArhGZMHNwl&id=100064359147038&mibextid=Nif5oz

ทีแพคชวนร่วมสนุกกับกิจกรรม #วันวิ่งโลก (Global Running Day)

ทีแพคชวนร่วมสนุกกับกิจกรรม #วันวิ่งโลก (Global Running Day) การวิ่งเป็นอะไรที่ดูเหมือนจะทำได้ง่าย เพียงแค่คุณสวมรองเท้าวิ่งและก้าวเท้าวิ่งออกไปบนถนน แต่เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมีจุดเริ่มต้นในการวิ่งที่ไม่เหมือนกัน

Continue reading